5 ฟีเจอร์ช่วยจัดการ Fan page ด้วย Facebook Business Manager

5 ฟีเจอร์ช่วยจัดการ Fan page ด้วย Facebook Business Manager

ตัวช่วยในการขายและจัดการ เฟสบุ๊คเพจ (Facebook page)ให้สะดวกและจบในที่เดียว พร้อมทั้งดูสรุปผลย้อนหลังการขาย ในวันนี้เราจะพาคุณรู้จักเครื่องมือจากเฟสบุ๊ค ที่สามารถสมัคร และใช้งานได้ฟรี

หากคุณเป็นผู้ขายสินค้า หรือร้านค้าออนไลน์ หลายๆ คน คงหนีไม่พ้นการใช้ช่องทาง “โซเชียลมีเดีย” (Social media) อาทิ เฟสบุ๊ค (Facebook) และ อินสตาแกรม (Instagram)  ในการประชาสัมพันธ์ และขายสินค้าเป็นอย่างแน่แท้ หลายๆ ร้าน ยอมลงทุนในการทำสื่อ และโฆษณาดึงดูดให้ลูกค้า บางร้านมีการ “ไลฟ์สด” (Live stream) เพื่อสร้างความบันเทิงให้กับลูกค้า ซึ่งนับได้ว่าเป็นเรื่องที่สร้างความแตกต่าง และเอกลักษณ์ในร้านค้าของเราได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อร้านค้าเริ่มขยายกิจการเพิ่มขึ้น เริ่มมีพนักงานเข้ามาช่วยขายมากขึ้น ทำให้การบริหารจัดการร้านค้า และโฆษณา เริ่มเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวและวุ่นวาย บางร้านมีสินค้าหลายชนิด มีการสร้าง เฟสบุ๊คเพจ (Facebook page) หลายเพจ ต้องเสียเวลาในการเข้าดูแต่ละเพจ

วันนี้ทางเราจึงอยากแนะนำเครื่องมือจากเฟสบุ๊คที่ช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้น พร้อมยังสามารถจัดการบัญชี เฟสบุ๊ค (Facebook) และ อินสตาแกรม (Instagram) ในที่เดียว ใช้งานได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

 

Facebook Business Manager คืออะไร

หากจะหาอธิบาย Facebook Business Manager อาจจะกล่าวได้ว่า เป็นเครื่องมือที่ได้รวบรวม พร้อมช่วยจัดการเพจ โฆษณาสินค้า การจัดการกลุ่มลูกค้า และทีมงานขาย ทั้งหมดในที่เดียว ไม่ว่าคุณจะมีหลายเพจ มีทีมงานหลายคน นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ที่ทางผู้เขียนชอบเป็นพิเศษนั่นคือ รายงานผลการยิงโฆษณา (Facebook ads) และเครื่องมือวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า

Facebook Business Manager

หน้าต่างการใช้งาน Facebook Business Manager

 

Facebook Business Manager ช่วยการขายให้สะดวกขึ้นได้อย่างไร

อย่างที่กล่าวข้างต้นว่า ทางเฟสบุ๊คได้รวบรวมหลายฟีเจอร์ในการบริหารจัดการเพจร้านค้า หรือ ธุรกิจ ไว้ที่เดียว ในที่นี้ผู้เขียนขอยก ฟีเจอร์เด่นๆ มาเล่าให้ฟังกัน

1. สร้างโฆษณาออกเป็นหลายหมวดหมู่ หรือ แต่ละกิจกรรม

สิ่งที่หน้าสนใจสำหรับการจัดการโฆษณาบน Business Manager มีความแตกต่างกับแบบทั่วไป คือ มีเมนู Ads Manager ให้เราสามารถสร้างแคมเปญโฆษณาแยกแต่ละกิจกรรม หรือโปรโมชันได้ ซึ่งจะสามารถช่วยแบ่งกลุ่มเป้าหมายในการยิงโฆษณา และเลือกจุดประสงค์ของโฆษณาชุดนั้นว่าต้องการให้มีผลกับเพจของเราอย่างไร เช่น ต้องการสร้างการรับรู้ การเพิ่มยอดขายสินค้า และการสร้าง Engagement เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถติดตามประสิทธิภาพของแคมเปญได้อีกด้วย

เริ่มต้นเข้าใจโครงสร้าง Ads Manager

การจะเริ่มต้นยิงโฆษณาที่ดี คงหนีไม่พ้นการเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของตัวระบบ Ads Manager ได้มีการออกแบบโครงสร้างหลัก 3 ส่วน ประกอบด้วย Campaigns, ad sets และ ads

Campaigns

เป็นโครงสร้างหลักสำหรับการสร้างโฆษณา ในตัวโครงสร้าง Campaigns นี้ให้คุณได้สามารถกำหนดเป้าหมายในการทำโฆษณาแก่กลุ่มลูกค้า หรือ คุณต้องการให้กลุ่มเป้าหมายมีปฏิสัมพันธ์กับโฆษณาของคุณอย่างไร โดยทางเฟสบุ๊ค ได้แบ่งหมวดหมู่ของการกำหนดเป้าหมายออกเป็น 3 แบบ ได้แก่

1.Awareness การสร้างการรับรู้ผลิตภัณฑ์หรือการมองเห็นแก่กลุ่มเป้าหมาย

2.Consideration การสร้างการเข้าถึงตัวผลิตภัณฑ์แก่กลุ่มเป้าหมาย

3.Conversion การสร้าง Action หรือการกระทำของโฆษณาแก่กลุ่มเป้าหมาย

กำหนดเป้าหมายโฆษณา

ตัวเลือกเป้าหมายในการโฆษณา

Ad sets

การตั้งค่ากลุ่มเป้าหมาย และค่าใช้จ่ายสำหรับการโฆษณา  เป็นสิ่งที่ควรคำนึง ในส่วน Ad sets จะช่วยในการคำนวณและทำนายกลุ่มเป้าหมายที่คุณเลือก กับค่าใช้จ่ายสอดคล้องกับความต้องการของคุณมากเพียงใด คุณสามารถตั้งค่า พฤติกรรม ความสนใจ และข้อมูลประชากรให้ตรงกับผลิตภัณฑ์ของคุณมากที่สุด

หน้าต่าง ad sets

หน้าต่าง Ad sets

Ad

สำหรับโครงสร้างสุดท้ายคือการสร้าง และออกแบบโฆษณาของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการใส่หัวข้อ คำพูด รูปภาพประกอบหรือเว็บไซต์ร้านค้า ซึ่งระบบจะแสดงตัวอย่างการแสดงผลบนแต่ละอุปกรณ์ให้คุณตัดสินใจ

ตั่งค่าโฆษณา

หน้าต่างการออกแบบโฆษณา (Ad)

 

2. บันทึกกลุ่มเป้าหมายการโฆษณาไว้ใช้งาน

ในการสร้างกลุ่มเป้าหมาย เราสามารถบันทึกกลุ่มเป้าหมายที่เราสร้าง หรือดึงข้อมูลจากผู้ใช้งานที่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับเพจ/เว็บไซต์ เข้ามาใช้งานได้ด้วยฟีเจอร์ Audiences ซึ่งสามารถเลือก สถานที่อยู่อาศัย ความสนใจ พฤติกรรมการใช้ Facebook รวมถึงข้อมูลประชากรศาสตร์ ได้ทั้งหมด

สำหรับการสร้าง Audiences มีรูปแบบการสร้าง อยู่ 2 ประเภทใหญ่ด้วยกัน ได้แก่

Custom Audience การสร้างกลุ่มเป้าหมาย จากผู้คนที่มีความสนใจในตัวร้านค้า หรือธุรกิจของคุณอยู่แล้ว โดยสามารถดึงแหล่งข้อมูลจากหลายแหล่ง อาทิ แฟนเพจ เว็บไซต์

Lookalike Audience การสร้างกลุ่มเป้าหมายใหม่โดยใช้ ความสนใจ และพฤติกรรมที่เหมือนกัน

 

3. จัดการหน้าร้านออนไลน์

ให้คุณสามารถลงขายสินค้าบน Facebook และ Instagram ผ่านระบบ Commerce Manager ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้คุณได้จัดการหมวดหมู่สินค้า รวมถึงการขายต่างๆ

สำหรับร้านค้าที่มีเว็บไซต์ขายสินค้า (E-commerce) ของตัวเอง หรือขายสินค้าบน E-commerce platform ทางเฟสบุ๊คได้พัฒนาระบบให้สามารถเชื่อมต่อกับ Third party  เหล่านั้นได้ โดยจะช่วยร้านค้าประหยัดเวลาในการแก้ไขรายละเอียดสินค้าแค่ที่เดียว (ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเว็บไซต์ขายสินค้า)

Third party platform ที่ทาง Facebook รองรับ

 

4. นำข้อมูลรายงาน และสรุปผลมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น

ในยุคปัจจุบัน ข้อมูลการรายงานผลเป็นสิ่งที่ควรทำสรุปเพื่อสามารถช่วยให้ร้านค้า หรือ องค์กรวางแผนการทำการตลาดได้อย่างมั่นยำมากขึ้น  ทางเฟสบุ๊คเองก็ได้มีการรายงานผลหลากหลายประเภท โดยที่เด่นๆ คือการรายงานผลการโฆษณา และการรายงานพฤติกรรมผู้ใช้งาน นอกจากนั้น หากคุณมีการขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ของตัวเอง คุณยังสามารถใช้ Facebook Pixel ในการเพิ่มประสิทธิภาพการรายงานขายได้อีกด้วย (สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม ทางผู้เขียนขอลงรายละเอียดในอีกบทความนึง)

 

5. บริหารจัดการทีมงานครบจบในที่เดียว

สำหรับร้านค้าที่เริ่มมีพนักงานขายเข้ามาช่วย คงหนีไม่พ้นการจัดการสิทธิ์การเข้าถึงของพนักงาน ยิ่งในกรณีที่มีเพจหลายเพจ การจะเข้าไปจัดการสิทธิ์แต่ละเพจเป็นเรื่องที่วุ่นวาย ทาง Facebook Business Manager ให้คุณสามารถจัดการสิทธิ์ของพนักแต่ละคนพร้อมกัน รวมถึงสิทธิ์การเข้าถึงการเงิน และการพัฒนาระบบ API