5 ฟีเจอร์ช่วยจัดการ Fan page ด้วย Facebook Business Manager

ตัวช่วยในการขายและจัดการ เฟสบุ๊คเพจ (Facebook page)ให้สะดวกและจบในที่เดียว พร้อมทั้งดูสรุปผลย้อนหลังการขาย ในวันนี้เราจะพาคุณรู้จักเครื่องมือจากเฟสบุ๊ค ที่สามารถสมัคร และใช้งานได้ฟรี หากคุณเป็นผู้ขายสินค้า หรือร้านค้าออนไลน์ หลายๆ คน คงหนีไม่พ้นการใช้ช่องทาง “โซเชียลมีเดีย” (Social media) อาทิ เฟสบุ๊ค (Facebook) และ อินสตาแกรม (Instagram)  ในการประชาสัมพันธ์ และขายสินค้าเป็นอย่างแน่แท้ หลายๆ ร้าน ยอมลงทุนในการทำสื่อ และโฆษณาดึงดูดให้ลูกค้า บางร้านมีการ “ไลฟ์สด” (Live stream) เพื่อสร้างความบันเทิงให้กับลูกค้า ซึ่งนับได้ว่าเป็นเรื่องที่สร้างความแตกต่าง และเอกลักษณ์ในร้านค้าของเราได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อร้านค้าเริ่มขยายกิจการเพิ่มขึ้น เริ่มมีพนักงานเข้ามาช่วยขายมากขึ้น ทำให้การบริหารจัดการร้านค้า และโฆษณา เริ่มเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวและวุ่นวาย บางร้านมีสินค้าหลายชนิด มีการสร้าง เฟสบุ๊คเพจ (Facebook page) หลายเพจ ต้องเสียเวลาในการเข้าดูแต่ละเพจ วันนี้ทางเราจึงอยากแนะนำเครื่องมือจากเฟสบุ๊คที่ช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้น พร้อมยังสามารถจัดการบัญชี เฟสบุ๊ค (Facebook) และ อินสตาแกรม (Instagram) ในที่เดียว ใช้งานได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม   Facebook Business Manager คืออะไร หากจะหาอธิบาย Facebook Business Manager อาจจะกล่าวได้ว่า เป็นเครื่องมือที่ได้รวบรวม พร้อมช่วยจัดการเพจ โฆษณาสินค้า การจัดการกลุ่มลูกค้า และทีมงานขาย ทั้งหมดในที่เดียว ไม่ว่าคุณจะมีหลายเพจ มีทีมงานหลายคน นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ที่ทางผู้เขียนชอบเป็นพิเศษนั่นคือ รายงานผลการยิงโฆษณา (Facebook ads) และเครื่องมือวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า หน้าต่างการใช้งาน Facebook Business Manager   Facebook Business Manager ช่วยการขายให้สะดวกขึ้นได้อย่างไร อย่างที่กล่าวข้างต้นว่า ทางเฟสบุ๊คได้รวบรวมหลายฟีเจอร์ในการบริหารจัดการเพจร้านค้า หรือ ธุรกิจ ไว้ที่เดียว ในที่นี้ผู้เขียนขอยก ฟีเจอร์เด่นๆ มาเล่าให้ฟังกัน 1. สร้างโฆษณาออกเป็นหลายหมวดหมู่ หรือ แต่ละกิจกรรม สิ่งที่หน้าสนใจสำหรับการจัดการโฆษณาบน Business Manager มีความแตกต่างกับแบบทั่วไป คือ มีเมนู Ads Manager ให้เราสามารถสร้างแคมเปญโฆษณาแยกแต่ละกิจกรรม หรือโปรโมชันได้ ซึ่งจะสามารถช่วยแบ่งกลุ่มเป้าหมายในการยิงโฆษณา และเลือกจุดประสงค์ของโฆษณาชุดนั้นว่าต้องการให้มีผลกับเพจของเราอย่างไร เช่น ต้องการสร้างการรับรู้ การเพิ่มยอดขายสินค้า และการสร้าง Engagement เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถติดตามประสิทธิภาพของแคมเปญได้อีกด้วย เริ่มต้นเข้าใจโครงสร้าง Ads Manager การจะเริ่มต้นยิงโฆษณาที่ดี คงหนีไม่พ้นการเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของตัวระบบ Ads Manager ได้มีการออกแบบโครงสร้างหลัก 3 ส่วน ประกอบด้วย Campaigns, ad sets และ ads Campaigns เป็นโครงสร้างหลักสำหรับการสร้างโฆษณา ในตัวโครงสร้าง Campaigns นี้ให้คุณได้สามารถกำหนดเป้าหมายในการทำโฆษณาแก่กลุ่มลูกค้า หรือ คุณต้องการให้กลุ่มเป้าหมายมีปฏิสัมพันธ์กับโฆษณาของคุณอย่างไร โดยทางเฟสบุ๊ค ได้แบ่งหมวดหมู่ของการกำหนดเป้าหมายออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ 1.Awareness การสร้างการรับรู้ผลิตภัณฑ์หรือการมองเห็นแก่กลุ่มเป้าหมาย 2.Consideration การสร้างการเข้าถึงตัวผลิตภัณฑ์แก่กลุ่มเป้าหมาย 3.Conversion การสร้าง Action หรือการกระทำของโฆษณาแก่กลุ่มเป้าหมาย ตัวเลือกเป้าหมายในการโฆษณา Ad sets การตั้งค่ากลุ่มเป้าหมาย…

ธุรกิจออนไลน์เติบโตไปพร้อม Chatbot

  Chatbot เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญในการทำการตลาดออนไลน์ และเพื่อช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ หากคุณใช้ Chatbotที่ชาญฉลาดสามารถตอบแชทได้ใกล้เคียงมนุษย์ตอบมากที่สุด และยังตอบคำถามได้อย่างถูกต้องแม่นยำ แชทบอทมีสองประเภท: Rule-Based Bot  (เป็นไปตามกฎที่ตั้งไว้) : กำหนดกฎหลายข้อเพื่อให้ครอบคลุมบริการ ได้รับการออกแบบตามชุดข้อมูลที่บันทึกไว้ ในการทำงานของคุณคุณมักจะพบว่าการสร้าง Chatbot ประเภทนี้จำเป็นต้องมีชุดของกฎเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่คุณจะใช้เนื่องจาก Chatbot ประเภทนี้ตอบได้เฉพาะคำสั่งกฎและเงื่อนไขที่คุณสร้างขึ้นเท่านั้น  Chatbot AI (ปัญญาประดิษฐ์): ปัญญาประดิษฐ์จะยากขึ้น อาจจำเป็นต้องใช้การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) และความเข้าใจภาษาธรรมชาติ (NLU) เพื่อช่วยให้แชทบอทของเราเข้าใจภาษาของมนุษย์รูปแบบประโยคและความหมายที่มนุษย์ต้องการสื่อได้ดีขึ้น ขณะนี้เครื่องมือได้รับการพัฒนาที่สามารถคาดการณ์หรือให้บริการได้อย่างยืดหยุ่นเทียบเท่ากับที่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว ทว่า ในการใช้ Chatbot บนแพลตฟอร์มต่างๆ ของผู้ประกอบการออนไลน์ ในปัจจุปันจะเป็น Base On Rule Chatbot มากกว่า เพราะการใช้งาน Chatbot ในประเภท Base On Rule มีต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำกว่า Chatbot AI   Chatbots มีความสำคัญในธุรกิจหลายมิติ บทบาทของ Chatbot ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายและช่วยกระตุ้นการทำงานของการขายสินค้าและบริการได้แก่ สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกค้าและแบรนด์ การให้ความช่วยเหลือในการตอบคำถามถามงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการเป็นสิ่งจำเป็นตลอด 24 ชั่วโมงในยุคที่ทุกอย่างต้องพัฒนาอย่างรวดเร็ว ให้ลูกค้ารู้สึกว่าไม่ต้องรอเป็นเวลานานในการประสานงานช่วยแก้ปัญหาหรือถามคำถามเกี่ยวกับพวกเขา ระบุผลิตภัณฑ์และรายละเอียดผลิตภัณฑ์ ดังนั้นคุณไม่ควรพลาดโอกาสในการขายสินค้าในขณะนั้น Chatbot เป็นผู้ช่วยขายตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน Chatbot สามารถ ช่วยธุรกิจของคุณในการปิดการขายได้  สามารถแนะนำลูกค้าสร้างใบเรียกเก็บเงินและแนะนำลูกค้าตลอดกระบวนการชำระเงิน คุณยังสามารถช่วยบันทึกข้อมูลลูกค้าเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการให้แชทบอทพูดคุยและถามลูกค้าเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์และบริการ และจัดเก็บข้อมูลเพื่อให้ บริษัท ต่างๆสามารถใช้ข้อมูลเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีขึ้น มีส่วนช่วยให้การขายบริการเป็นจริงอย่างทั่วถึง เพราะส่วนหนึ่งของโอกาสที่พลาดไปคือการตอบคำถามช้าบริการไม่ทั่วถึงและเร็วไม่เพียงพอในช่วงเวลาเร่งด่วน (เช่นวันหยุดยาว) จำนวนลูกค้าจะลดลงในช่วงวันหยุดยาวลูกค้าจำนวนมาก อาจใช้บริการสั่งซื้อออนไลน์ หรือในช่วงโปรโมชั่นลดการแพร่กระจายของการเพิ่มจำนวนเซลล์จะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างทั่วถึง หากคุณใช้พนักงานบริการในช่วงเวลานี้คุณอาจไม่สามารถตอบคำถามและสั่งซื้อได้ ให้ขายทั่วไปจนกว่าจะตอบช้าจนสุดท้ายก็พลาดโอกาสในการขายไปโดยสิ้นเชิงดังนั้น Chatbot จึงมีความสำคัญมากสำหรับการขายของออนไลน์ในยุคนี้ ช่วยลูกค้าในการตัดสินใจอย่างมีข้อมูลโดยตรงข้อดีอีกอย่างของ Chatbot คือสามารถเข้าถึงลูกค้าได้เร็วกว่าผู้คน และสามารถทำหน้าที่เป็นหน่วยงานที่ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์โดยละเอียดเพื่อให้ลูกค้าต้องการข้อมูลได้ทันทีเนื่องจากผู้บริโภคในปัจจุบันต้องการข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจและหลาย ๆ ครั้งพวกเขาจะสอบถามก่อนซื้อ โดยเฉพาะสินค้าที่มีมูลค่าสูงเช่น รถยนต์ บ้าน กล้องถ่ายรูป เป็นต้น ใช้เป็นช่องทางกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้คนในโปรโมชั่นและความรู้ข่าวสารคุณยังสามารถสร้างข้อมูลสรุปเพื่อสร้างฐานข้อมูลและสำรวจลูกค้า ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำโปรโมชั่นหรือแบบสำรวจแบบสอบถามและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในรูปแบบต่างๆผ่านข้อความแชท ลดต้นทุนในการจ้างพนักงาน เนื่องจากคุณไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อจ้างพนักงานหรือผู้ดูแลระบบเพื่อตอบสนองลูกค้าแชทบอทจะเป็นประโยชน์ต่อคุณและสามารถลดต้นทุนของผลิตภัณฑ์หรือบริการได้ ค่าแรงที่ต่ำลงจะเปลี่ยนเป็นผลกำไรที่เพิ่มขึ้นสำหรับธุรกิจของคุณนั่นเอง   Chatbot ในปัจจุบันนั้นยอดเยี่ยมในเรื่องของความรวดเร็วและคล่องตัว เพื่อการแสดงอารมณ์ให้ได้ดีเยี่ยมนั้น เป็นความท้าทายที่สำคัญในการสร้างความเป็นมิตร กับอารมณ์ของมนุษย์ให้มากที่สุด สิ่งนี้จะช่วยสร้างความประทับใจที่ดีให้กับคู่สนทนาให้ได้มากที่สุด   

อ่านค่าเป็น เขียนโพสเล่นๆ ก็ได้ตังค์

ธุรกิจใหม่หลายธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นเข้ามาทำตลาดบนโลกออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น Google, Facebook, Youtube, Tiktok หรือช่องทางอื่นๆ ต้องเคยลงโปรโมทโปรดักของตนเองบ้างแหละ แต่บางครั้งเห็นยอดคนเข้าถึงเยอะ จนคิดว่าโพสนั้นทำงานได้ จนลืมแนวคิดทางทฤษฎีไปเลยว่ามีตัวเลขสำคัญอยู่สองสามตัวที่ควรนำมาคิดคำนวณไปด้วย ลงโฆษณาไปแล้วเคยเช็คกันบ้างไหม ตัวเลขสองสามตัวที่สามารถบอกได้ว่าโพสที่เราเขียน มีประสิทธิภาพ แค่ไหน? ตัวอย่าง A = งบ (cost) 100 บาท, เข้าถึง (impression) 2,500 คน, คลิกลิ้งค์หรือส่งข้อความ (click) 90 คน ขายได้ 5 คน B = งบ (cost) 100 บาท, เข้าถึง (impression) 500 คน, คลิกลิ้งค์หรือส่งข้อความ (click) 4 คน ขายได้ 2 คน CTR (ค่ายิ่งมากยิ่งดี) คือ จำนวนคนคลิ๊กลิ้งหรือส่งข้อความจากโฆษณาของเราบ่อยแค่ไหน ค่ายิ่งมากยิ่งดี แต่ถ้าค่าน้อยกว่า 1% แสดงว่าโฆษณานั้นใช้ไม่ได้ ตัวอย่าง A = 90/2500x100 = 3.6% ค่าอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ตัวอย่าง B = 4/500x100 = 0.8% ค่าน้อยกว่า 1 แสดงว่าโฆษณานั้นใช้ไม่ได้ คนดูเยอะ แต่คลิกน้อยมาก CPM (ค่ายิ่งน้อยยิ่งดี) คือ ราคาต้นทุนต่อการแสดงผล 1,000 ครั้ง แน่นอนครับค่านี้ ยิ่งน้อยยิ่งดี แล้วแค่เท่าไหร่ละที่น้อยพอ โดยภาพรวมของตลาด Facebook นั้น ค่าควรต่ำกว่า 150 แต่ถ้าต่ำกว่า 100 ก็ดีว่าดีมาก ต่ำกว่า 50 นี่ยอดเยี่ยมเลย ตัวอย่าง A = 100/2500x1000 = 40 แสดงว่าโฆษณานี้ดีเยี่ยมใช้ต้นทุนต่ำ แต่แสดงผลได้เยอะ อาจจะเนื่องจากมีคนแชร์ด้วย ตัวอย่าง B = 100/500x1000 = 200 แสดงว่าโฆษณานี้มีคนเห็นน้อย ใช้ต้นทุนไปตั้งเยอะ แต่มีคนเห็นนิดเดียว * ต้องพิจารณาด้วยว่า คนเห็นเยอะ แต่ถูกกลุ่มเป้าหมายรึเปล่า ถ้าเห็นเยอะแต่ไม่ซื้อก็ไม่มีความหมาย แต่ถ้าถูกกลุ่มเป้าหมาย แม้เห็นน้อยก็มีโอกาสซื้อเยอะ CPC (ยิ่งน้อยยิ่งดี) คือ ต้นทุนต่อการคลิ๊กลิ้ง หรือข้อความ แน่นอนครับ ยิ่งน้อยยิ่งดี แต่น้อยเท่าไหร่ละ อันนี้ตอบไม่ได้ครับขึ้นอยู่กับโปรดักและกำไรที่ได้มา ให้พิจารณากันเอาเอง ตัวอย่าง A = 100/90 = 1.11 ว้าววว คลิก 90 ครั้ง เฉลี่ยคลิกละบาทกว่าๆเอง แต่ขายได้ 5 คนเอง ถ้ากำไรสินค้าต่อชื้นน้อยก็คงไม่ค่อยคุ้ม ตัวอย่าง B = 100/4 = 25 โหห แพงจัง เฉลี่ยคลิกละ 25 บาทเลย แต่ขายได้ตั้ง 2 คิด คิดเป็น...

แชร์ประสบการณ์เว็บไซต์โดนแฮก ถ้าคุณไม่อยากตกเป็นเหยื่อ โปรดอ่าน!

ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ และหน้าเก่า หลายคนคงเคยเจอปัญหาเว็บไซต์องค์กรโดนแฮก ทำให้ลูกค้าเข้าเว็บไซต์ไม่ได้ ส่งผลให้ลดความน่าจะเชื่อถือขององค์กรลง และยังก่อเกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย ซึ่งปัญหาเว็บไซต์โดนแฮกไม่ควรที่จะเป็นปัญหาจุดเล็กๆที่องค์กรไม่ใส่ใจ แต่มันควรจะเป็นปัญหาใหญ่ที่องค์กรควรจะใส่ใจ เพราะหากเกิดขึ้นบ่อยๆกับเว็บไซต์ขององค์แล้ว จะทำให้ไม่มีคนเข้าใช้งานเว็บไซต์ กระทั่งถูกลดการจัดอันดับบนหน้าการค้นหา (Search Engine) เลยก็ว่าได้ เห็นไหมครับว่าปัญหาที่กล่าวมานั้นไม่ใช่เพียงแค่ปัญหาเล็กๆที่หลายคนมองข้าม แต่มันเป็นปัญหาใหญ่ที่จะส่งผลในระยะยาวได้ บทความนี้จะมาพูดตั้งแต่ต้นจนจบ ว่า ก่อนที่เว็บไซต์จะโดนแฮกเป็นยังไง หลังโดนแฮกเป็นยังไง รวมถึงวิธีการแก้ไข และป้องกันไม่ให้โดนแฮกครับ อาการแบบไหนที่เรียกว่า "โดนเข้าแล้ว" อาการแรกเป็นอาการที่มันจะเจอบ่อยที่สุด คือ เข้าหน้าหลักของเว็บไซต์แล้วแสดงผลหน้าอื่นที่ไม่ใช่หน้าปกติ แล้วเขียนข้อความว่า Hacked by xxxx หรือเขียนข้อความอื่นๆ เช่น เชิญชวนมาขายตรง, เชิญมาเล่นการพนัน และในรูปแบบอื่นๆ อาการต่อไป เรียกค่าไถ่ คือ คุณแขกไม่ได้รับเชิญเค้าเอา ฐานข้อมูล ของเว็บไซต์เราไป แล้วลบฐานข้อมูลออกไป ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่เว็บไซต์ได้ เจอ Error ต่างๆนาๆ ซึ่งในที่นี้ผมจะไม่ได้กล่าวถึงว่าเป็น Error แบบไหน แต่พอให้ทางทีมงานรับทำเว็บไซต์เช็คให้ก็เจอข้อความในฐานข้อมูลว่า "Send 0.02 BTC to this address and contact this email with your ip or db_name of your server to recover your databases! Your DB is Backed up to our servers! " ต่อไปเป็นการถูกแฮก แต่ไม่แสดงอาการใดๆ กลุ่มคนพวกนี้อาจจะแค่เข้ามาลองวิชา แอบสร้างเนื้อหา สร้างหน้าใหม่ๆขึ้นมาเพื่อให้คนอื่นเห็น ซึ่งหน้าพวกนี้ก็มักจะไม่เป็นประโยชน์ต่อเว็บไซต์สักเท่าไหร่ และยังยังมีอีกหลากหลายอาการ ซึ่งมีเยอะมาก เช่น กดเข้าเมนูต่างๆไม่ได้ เนื่องจากแฮกเกอร์แอบเข้าไปแก้ไขลิ้งต่างๆของเว็บไซต์ออก แต่โดยส่วนใหญ่แล้วหลังจากบุคคลเหล่านี้สามารถแฮกเว็บไซต์เราได้แล้วมักจะใส่เครดิตไว้ (Hacked by : xxx) เหมือนกับสุนัขที่ฉี่ไว้เพื่อบ่งบอกถึงอาณาเขตของตนที่เคยไปมา ฉะนั้น เจ้าของเว็บไซต์ควรหมั่นเข้าเว็บไซต์ตัวเองเพื่อเช็คว่าเว็บไซต์ของเรานั้นยังทำงานถูกต้องอยู่ มาดูกันว่าคุณแขกไม่ได้รับเชิญเขาเข้ามาด้วยวิธีไหนบ้าง และเราจะป้องกันได้อย่างไร กว่า 90% ที่โดนแฮก คือ การตั้งรหัสผ่านที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้นควรตั้งรหัสผ่านที่มีความปลอดภัย คาดเดาได้ยาก ประกอบด้วย ตัวเลข ตัวอักษรใหญ, เล็ก และตัวอักษรพิเศษ และยิ่งยาวยิ่งดี ในที่นี้ผมจะนำเสนอวิธีการที่แฮกเกอร์มักใช้ และวิธีการป้องกันเบื้องต้น ซึ่งวิธีการป้องกันอาจจะต้องอาศัยนักพัฒนาเว็บไซต์ที่เก่งช่วยปรับตั้งค่าให้ Brute Force ลองเดาสุ่มรหัสไปเรื่อยๆ แฮกเกอร์จะพยายามล็อคอินเข้าระบบจัดการของเรา (ระบบหลังบ้าน) โดยใช้วิธีการ Brute Force หรือพูดภาษาบ้านๆคือ เดาสุ่มๆไปเรื่อยๆจนกว่าจะเข้าได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าแฮกเกอร์จะคอยมานั่งพิมพ์ทีละรหัสเอง พวกเค้าจะใช้ script หรือเรียกง่ายๆว่าโปรแกรม คอยเดาสุ่มไปเรื่อยๆจนกว่าจะเจอ วิธีการป้องกัน ควรตั้งรหัสผ่านให้ปลอดภัยมากที่สุด ยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือใครยังไม่รู้ว่าควรตั้งยังไง แนะนำให้ไปอ่านบทความนี้ แนะนำวิธีการป้องกันจากการบุคคลไม่พึงประสงค์ เว็บไซต์ ควรมี URL เข้าระบบหลังบ้านที่คาดเดาได้ยากเช่นกัน ยกตัวอย่าง เช่น จาก /admin -> /nimdaonly บล็อค IP ไม่ให้ใช้งานชั่วคราวหากล็อคอินผิดเกิน 3 ครั้ง ตั้งค่าให้ URL เข้าระบบหลังบ้าน เข้าได้เฉพาะ IP...

Facebook ก็ฟรีอยู่แล้ว ทำไมฉันต้องมีเว็บไซต์ด้วยนะ?

ปัจจุบัน ผู้คนใช้สื่อ Social ในปี 2020 มากถึง 3.6 พันล้าน (Statista) ที่สำคัญคือ ใช้ฟรี ดังนั้นหลายธุรกิจอาจคิดว่า ทุกวันนี้ Social ก็ดีอยู่แล้ว ใช้ฟรีด้วย ทำไมฉันจะต้องมีเว็บไซต์ด้วยล่ะ? โพสนี้จะมาพูดถึง 5 เหุตผลว่าทำไมการมีแค่ Facebook Page จึงไม่เพียงพออีกต่อไป 1. เว็บไซต์ก็เปรียบเสมือนหน้าร้าน ทุกวันนี้เราต้องยอมรับว่า ผู้คนมักใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบหาข้อมูล มากกว่าที่จะโทรไปถามข้อมูล หรือเดินไปสอบถาม ดังนั้น เว็บไซต์ก็เปรียบเสมือนหน้าร้านค้าของคุณ ที่พร้อมจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ สินค้า/บริการ ข้อมูลติดต่อ รวมถึง รูปภาพ, รีวิวสินค้า และอื่นๆอีกมากมาย การที่ธุรกิจไม่มีเว็บไซต์ ก็เหมือนไม่มีหน้าร้าน ผมจะขอยกตัวอย่างให้เห็นแบบชัดๆหน่อยนะครับ สมมติคุณกำลังเดินอยู่หน้าปากซอย แล้วเจอใบปลิวร้านขายเสื้อผ้า ซึ่งคุณกำลังมองหาเสื้อกันหนาวๆสักตัว คุณอาจจะเดินไปที่หน้าร้านนั้นเพื่อสอบถามรายละเอียด แต่ในทางตรงกันข้ามในใบปลิวนั้นไม่มีหน้าร้าน มีเพียงเสื้อผ้าที่เก็บไว้ในบ้านพักที่อยู่ใกล้ๆ คุณก็อาจจะไม่ไปเลือกดูสินค้าที่นั่น ทำไมละ? ก็เพราะมันไม่มีความน่าเชื่อถือมากพอไงละครับ ซึ่งนี่เป็นความรู้สึกเหมือนกับที่ผู้คนเจอข้อมูลร้านคุณบนโลกออนไลน์ แต่คุณไม่มีเว็บไซต์ 2. เมื่อคุณมีแค่ Facebook Page คุณจะถูกจัดอันดับ (Page Rank) แบบไม่สามารถควบคุมได้ บริษัททุกๆบริษัท ต้องการขายสินค้าให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้บริษัทเติบโต จริงอยู่ที่บริษัทมีลูกค้าเก่าๆแล้ว ก็ยังใช้บริการอุดหนุนตลอดเวลา แต่สิ่งที่บริษัทต้องการมากกว่านั้นคือ ลูกค้าใหม่ สิ่งหนึ่งที่หาลูกค้าใหม่ได้ คือการทำ SEO (Search Engine Optimization) ซึ่งเป็นการเพิ่มแสดงผลการค้นหาเกี่ยวกับ สินค้า/บริการ ของคุณบนโลกออนไลน์ ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นกันชัดๆนะครับ เช่น ผมเปิดร้านให้เช่ามอเตอร์ไซต์ ซึ่งอยู่ที่ จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายของผมคือ กลุ่มนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางมาเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ โดย สิ่งที่ผู้คนเหล่านั้นจะทำคือ พิมพ์คำค้นหาบน Google ว่า "เช่ามอเตอร์ไซต์ เชียงใหม่" หากคุณมีเว็บไซต์ และมีการทำ SEO ให้สามารถค้นหาเจอแล้วในอันดับต้นๆ โอกาสที่คุณจะปิดการขายบริการของคุณก็จะมีโอกาสมากยิ่งขึ้น แต่ในทางตรงกันข้าม Facebook หรือว่าสื่อ Social Media อื่นๆ ไม่สามารถที่จะจัดการเรื่อง SEO ได้มากพอๆกับเว็บไซต์ จะมีโอกาสน้อยมากที่จะทำให้ผลการค้นหานั้นขึ้นมาแสดงให้คนได้เห็น 3. Facebook ไม่สามารถให้ข้อมูลได้ทั้งหมด Facebook หรือสื่อ Social Media อื่นๆ มีข้อจำกัดมากมายเกี่ยวกับการแสดงเนื้อหาทีคุณจะเพิ่มลงไป แม้ว่าคุณจะสามารถโพสเนื้อหารายละเอียดสินค้า/บริการได้ แต่คุณไม่สามารถสร้างเนื้อหาหน้าเพจเกี่ยวกับบริษัทของคุณ บริการของคุณ ตัวอย่างการใช้งานสินค้า หรืออื่นๆอีกมากมาย ซึ่งเว็บไซต์ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องนี้ หรือแม้กระทั่งคุณจะเขียนบทความยาวๆที่เกี่ยวกับสินค้า/บริการที่เกี่ยวของ เว็บไซต์ก็ยังสามารถให้ข้อมูลได้ยืดหยุ่นกว่า คนที่เข้าชมก็สามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่า ผมไม่ได้ปฏิเสธว่า Facebook หรือสื่อ Social อื่นๆไม่ดีนะครับ มันเป็นสื่อกลางหนึ่งที่สามารถดึงคนเข้ามาใช้บริการได้ดีเยี่ยม แต่อย่างไรก็ตาม Facebook ควรจะไม่ใช่หน้าร้านหลักของคุณ แต่ควรจะเป็นสื่อกลางที่จะคอยสนับสนุนให้กับเว็บไซต์ของคุณ ช่วยดึงลูกค้าของคุณไปสู่เว็บไซต์ที่เป็นเอกลักษณ์ มีฟังก์ชันการใช้งานที่สมบูรณ์ และคุณสามารถควบคุมทุกอย่างได้ ถ้าคุณสนใจอยากที่จะลองสร้างเว็บไซต์ หรือสร้างหน้า Facebook Page สามารถคลิกลิ้งค์ติดต่อมาที่เราได้ เราพร้อมที่จะให้บริการปรึกษา จัดทำเว็บไซต์ในจังหวัดเชียงใหม่ กรุงเทพมหานคร และทุกภูมิภาค 4. เว็บสวยด้วยมือเรา ออกแบบได้ไม่เหมือนใคร มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ดังได้ที่กล่าวมาในข้อก่อนหน้านี้ เว็บไซต์สามารถออกแบบทุกอย่างได้ แบบไม่มีข้อจำกัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัด Layout การเลือกสี เมนูต่างๆ สามารถเลือกจัดวางไว้ได้ตามความต้องการ คุณจะได้เว็บไซต์ที่มีแค่ธุรกิจของคุณเท่านั้น ซึ่งไม่เหมือนกับ Facebook...

ขั้นตอนการสร้าง Brand Identity ให้คนรู้จัก

หากคุณเป็นนักธุรกิจ หรือกำลังริเริ่มทำธุรกิจบางอย่างล้วนแล้วแต่ต้องการให้ผลิตภัณฑ์ หรือแบรนด์ของตัวเองเป็นที่จดจำของลูกค้า ซึ่งการสร้าง “เอกลักษณ์ของแบรนด์” (Brand Identity) จะช่วยให้คุณสามารถวางภาพลักษณ์ของแบรนด์ และยังสะท้อนมุมมองต่อแบรนด์ระหว่างตัวคุณกับลูกค้า โดยในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าการสร้างแบรนด์มักมีการอาศัยโลกออนไลน์ช่วยในการสื่อสาร เพื่อเผยแพร่ภาพลักษณ์ให้รวดเร็ว และกว้างขวางยิ่งขึ้น “เอกลักษณ์แบรนด์”  (Brand Identity) คืออะไร การสร้างหรือมองวิสัยทัศน์ของธุรกิจ เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจ และมองเห็นภาพของธุรกิจ นอกจากนั้นยังช่วยให้เรากำหนดมุมมองของแบรนด์เราไม่ให้เหมือนใคร และเข้าใจคู่แข่งมากขึ้น กระบวนการเหล่านี้รวมไปถึงการออกแบบ Template อาทิ โลโก้ สีที่ใช้ และภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร   ทำไม “เอกลักษณ์แบรนด์” จึงสำคัญ แบรนด์นั้นมากกว่าการสร้าง Template หรือ โลโก้ขึ้นมา การสร้างแบรนด์ต้องผนวกรวมหลายสิ่งเพื่อสร้างให้ธุรกิจเติบโตอย่างมีทิศทาง รวมถึงเกิดความน่าเชื่อถือ การสร้างสิ่งเหล่านี้สามารถช่วยให้คุณวางภาพลักษณ์ และ Position ของแบรนด์ได้อย่างแม่นยำ รวมทั้งค้นหาลูกค้าที่แท้จริง   ขั้นตอนการสร้าง “เอกลักษณ์” ให้ลูกค้าจดจำ 1. สร้างภาพลักษณ์ แบรนด์ ของคุณ การสร้างภาพลักษณ์เป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ เพื่อให้แบรนด์ มีทิศทางเดียวกัน และทีมงานมีความเข้าใจที่ตรงกัน คุณควรเริ่มค้นหาข้อมูลคู่แข่งทางการตลาด เพื่อเปรียบเทียบข้อดี และข้อเสีย (SWOT Analysis) ช่วยให้ลดโอกาสสูญเสียผลประโยชน์ รวมทั้งช่วยค้นหาจุดแข็งของแบรนด์ (Value proposition) ซึ่งกระบวนเหล่านี้ต้องใช้เวลาค่อนข้างนานกับมัน เพราะเป็นการนำองค์ประกอบหลายๆด้าน มาผนวกรวมกันให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างขึ้นมา   2. ออกแบบแบรนด์ การออกแบบแบรนด์ไม่ใช่การออกแบบแค่โลโก้ คุณควรลงลึกแม้กระทั่งสีที่ใช้ควรเป็นสีโทนเข้ม เพื่อบ่งบอกความดูดีมีระดับ หรือโทนอ่อน เพื่อให้ดูอ่อนโยน รวมทั้งรูปแบบตัวอักษร ว่ามีลักษณะตรงกับภาพลักษณ์หรือไม่ เช่น มีความดูสนุกสนาน หรือดูหรูหรา เพราะองค์ประกอบทั้งหมด จะถูกนำไปใช้สื่อสารทุกช่องทางเสมอ ไม่ว่าจะบน เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และหน้าร้านค้า   3. สื่อสารให้ลูกค้ารับทราบ เมื่อเตรียมทุกอย่างเสร็จสิ้น สิ่งถัดมาคือการลงตลาดจริง ให้ผู้บริโภครับรู้ถึงการมีอยู่ของแบรนด์ โดยคุณอาจสร้างการประชาสัมพันธ์ในช่องทางออนไลน์ เช่น การโฆษณาบน Facebook และ Google การสร้างเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ชมรับรู้ถึงรายละเอียด การทำ SEO และ SEM และการลงโซเชียลมีเดียต่าง ๆ การสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์นั้น ได้รับความนิยมในยุคปัจจุบันสูงมาก เนื่องจากสามารถช่วยกระจายข่าวสารได้อย่างแพร่หลาย และควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างสะดวก   4. ติดตามผล หลังจากคุณได้สื่อสารทุกอย่างออกไปแล้ว คุณควรติดตามผลการดำเนินงานตลอดเวลา เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมกับผู้บริโภคของคุณ จะช่วยให้ธุรกิจเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ